หลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563
1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Computer and Digital Technology
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Computer and Digital Technology)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Computer and Digital Technology)
3. วิชาเอก
–
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
5.3 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ.2558
6.2 สภาวิชาการ เห็นชอบในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 5/2562
วันศุกร์ที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
6.3 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 11/2562 วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2562
6.4 เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2565
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
8.1 นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
8.2 นักออกแบบเว็บและพัฒนาเว็บไซต์ (Web Designer /Web Developer)
8.3 ผู้ทดสอบโปรแกรม (Software Tester)
8.4 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
8.5 นักออกแบบระบบเครือข่าย (Network System Designer)
8.6 นักพัฒนาระบบเครือข่าย (Network System Engineer)
8.7 ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network System Administrator)
8.8 นักพัฒนาเกม (Game Developer)
8.9 นักออกแบบ UI/UX
8.10 นักผลิตสื่อดิจิทัล (Digital Media Content Creator)
8.11 นักพัฒนาฐานข้อมูล (Database Developer)
8.12 นักวิชาการคอมพิวเตอร์หรือนักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
8.13 ครูหรืออาจารย์ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
8.14 นักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
1) อาจารย์ ดร.ชายแดน มิ่งเมือง
2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม
3) อาจารย์ แพรตะวัน จารุตัน
4) อาจารย์ ดร.สุธาสินี คุปตะบุตร
5) อาจารย์ ปิยวรรณ โถปาสอน
โครงสร้างหลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
หมวดวิชา | เกณฑ์ สกอ./ 4 ปี | โครงสร้างหลักสูตร |
---|---|---|
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า 30 | 30 |
1.1 รายวิชาบังคับ | 12 | |
1.2 รายวิชาบังคับเลือก | 18 | |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า 84 | ไม่น้อยกว่า 95 |
2.1 กลุ่มวิชาแกน | 9 | 9 |
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ | 45 | ไม่น้อยกว่า 70 |
2.2.1 กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ | 9 | 9 |
2.2.2 กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ | 18 | 28 |
2.2.3 กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ | 12 | 18 |
2.2.4 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ | 6 | 9 |
2.2.5 กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ | 6 | |
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก | ไม่น้อยกว่า 12 | |
2.3.1 กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูล | ||
2.3.2 กลุ่มการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | ||
2.3.3 กลุ่มเครือข่าย | ||
2.3.4 กลุ่มเนื้อหาทางดิจิทัล | ||
2.3.5 กลุ่มเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน | ||
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ | ไม่น้อยกว่า 4 | |
2.4.1 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ | 1 | |
2.4.2 การเตรียมสหกิจศึกษา | 1 | |
2.4.3 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ | 0-3 | 3 |
หรือ | ||
2.4.4 สหกิจศึกษา | 6-9 | 6 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า 6 | 6 |
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | ไม่น้อยกว่า 120 | ไม่น้อยกว่า 125 |
รายวิชาในหลักสูตร
1) ความหมายของรหัสวิชา
รหัสวิชาประกอบด้วยเลข 8 ตัว แต่ละหลักมีความหมายดังนี้
หลักที่ 1 หมายถึง รหัสคณะ
หลักที่ 2 – 4 หมายถึง หมู่วิชา
หลักที่ 5 หมายถึง ระดับความยากง่ายหรือชั้นปีที่จัดให้เรียน
หลักที่ 6 หมายถึง กลุ่มเนื้อหาวิชาในหมู่วิชา
หลักที่ 7-8 หมายถึง ลำดับที่ของรายวิชาในกลุ่มเนื้อหาวิชา
2) รายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562 จัดรายวิชาสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา กำหนดให้เรียนให้ครบทุกกลุ่มวิชา ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต ดังนี้
ก. รายวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต
ข. รายวิชาเลือก จำนวน 18 หน่วยกิต
ก. รายวิชาบังคับ กำหนดให้เรียน จำนวน 12 หน่วยกิต ดังนี้
1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร เรียน 9 หน่วยกิต จากรายวิชา
01540108 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
01552701 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
01550104 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม 3(3-0-6)
2) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียน 3 หน่วยกิต จากรายวิชา
02500104 วัฒนธรรมแอ่งสกลนคร 3(2-2-5)
ข. รายวิชาเลือก กำหนดให้เรียน จำนวน 18 หน่วยกิต โดยเลือกให้ครอบคลุม 4 กลุ่มวิชา ดังต่อไปนี้
1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
01540109 การเขียนภาษาไทยทั่วไป 3(3-0-6)
01540107 การอ่านเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม 3(3-0-6)
01550105 การอ่านและเขียนภาษาอังกฤษทั่วไป 3(3-0-6)
01560102 ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น 3(3-0-6)
01570102 ภาษาจีนเบื้องต้น 3(3-0-6)
01670102 ภาษาลาวเบื้องต้น 3(3-0-6)
01710102 ภาษาเวียดนามเบื้องต้น 3(3-0-6)
01551601 ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ 3(3-0-6)
01553601 ภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
02531203 ศิลปะการดำเนินชีวิต 3(3-0-6)
01511401 จริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต 3(3-0-6)
01500109 สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(3-0-6)
01511502 สุนทรียภาพเพื่อชีวิต 3(3-0-6)
01500113 ศาสนธรรมเพื่อคนร่วมสมัย 3(3-0-6)
02531204 จิตตปัญญาศึกษา 3(2-2-5)
03611201 หมากล้อม 3(3-0-6)
02053301 สุนทรียะ 3(3-0-6)
3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
02531202 สังคมไทยกับโลกาภิวัตน์ 3(3-0-6)
02531201 วิถีอาเซียน 3(3-0-6)
02500106 กฎหมายเพื่อชีวิต 3(3-0-6)
02500107 สันติศึกษา 3(3-0-6)
02551101 พลเมืองศึกษา 3(3-0-6)
03500102 หลักการจัดการสมัยใหม่ 3(3-0-6)
03500104 การพัฒนาที่ยั่งยืน 3(3-0-6)
03621101 การเป็นผู้ประกอบการ 3(3-0-6)
02533201 ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3(2-2-5)
4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
04000105 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
04000106 คอมพิวเตอร์และสารสนเทศขั้นพื้นฐาน 3(2-2-5)
04000107 ชีวิตและสุขภาพ 3(3-0-6)
04071201 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
05000104 การเกษตรและอาหารเพื่อชีวิต 3(3-0-6)
05500103 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3(3-0-6)
04000109 การพัฒนาทักษะการคิด 3(3-0-6)
05151101 เกษตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น 3(3-0-6)
04071202 ครอบครัวศึกษา 3(3-0-6)
04002101 ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ 3(3-0-6)
04073501 การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ 3(3-0-6)
2. หมวดวิชาเฉพาะ หลักสูตรจัดรายวิชาสำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 95 หน่วยกิต ดังนี้
2.1 กลุ่มวิชาแกน 9 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ 70 หน่วยกิต
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก 12 หน่วยกิต
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาแกน 9 หน่วยกิต
14121306 หลักการเขียนโปรแกรม 3(2-2-5)
14121402 คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(3-0-6)
14123407 สถิติและการวิจัยสำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ กำหนดให้เรียน จำนวน 70 หน่วยกิต ดังนี้
1) กลุ่มประเด็นด้านองค์การและระบบสารสนเทศ 9 หน่วยกิต
14122219 การจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
14124208 การบริหารโครงการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
43521103 หลักการบัญชี 3(2-2-5)
2) กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 28 หน่วยกิต
14121607 หลักการและระบบการจัดการฐานข้อมูล 3(2-2-5)
14122606 การออกแบบสื่อดิจิทัลเบื้องต้น 3(2-2-5)
14122607 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5)
14122608 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 3(2-2-5)
14123605 การบูรณาการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
สำหรับชุมชน 3(2-2-5)
14123606 การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์เบื้องต้น 3(2-2-5)
14123607 สัมมนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 1(1-0-2)
14123609 โครงงานคอมพิวเตอร์ 1 1(1-0-2)
14123610 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3(2-2-5)
14123613 การผลิตสื่อแอนิเมชัน 3(2-2-5)
14124604 โครงงานคอมพิวเตอร์ 2 2(1-2-3)
3) กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 18 หน่วยกิต
14121305 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5)
14122313 อินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง 3(2-2-5)
14122314 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม 3(2-2-5)
14122315 เทคโนโลยีเว็บและการให้บริการ 3(2-2-5)
14122316 การเขียนโปรแกรมบนเว็บ 3(2-2-5)
14123333 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3(2-2-5)
4) กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานระบบ 9 หน่วยกิต
14122701 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล 3(2-2-5)
14122702 การจัดการความมั่นคงและปลอดภัย 3(2-2-5)
14123225 มาตรฐานสากลด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
5) กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 6 หน่วยกิต
14121701 ระบบการบำรุงรักษาทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(2-2-5)
14121702 ระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม 3(2-2-5)
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังต่อไปนี้
กลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูล
14123211 ฐานข้อมูลขั้นสูง 3(2-2-5)
14123213 คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล 3(2-2-5)
14123611 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ขั้นสูง 3(2-2-5)
14123612 ธุรกิจอัจฉริยะ 3(2-2-5)
14123226 ข้อมูลขนาดใหญ่ 3(2-2-5)
14124403 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2-5)
กลุ่มการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
14123334 การเขียนโปรแกรมบนเว็บขั้นสูง 3(2-2-5)
14123335 การเขียนโปรแกรมบนคลาวด์ 3(2-2-5)
14123336 การออกแบบเว็บ 3(2-2-5)
14123337 การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงอ็อบเจกต์ 3(2-2-5)
14124315 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ขั้นสูง 3(2-2-5)
กลุ่มเครือข่าย
14123717 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย 3(2-2-5)
14123718 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการ 3(2-2-5)
14123720 ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และการบริการขั้นสูง 3(2-2-5)
14124702 ระบบเครือข่ายขั้นสูง 3(2-2-5)
14124703 การออกแบบระบบเครือข่ายการสื่อสารและความปลอดภัยสำหรับองค์กร 3(2-2-5)
กลุ่มเนื้อหาทางดิจิทัล
14123614 การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ 3(2-2-5)
14123615 การพัฒนาเกม 3(2-2-5)
14123618 การพัฒนาเกมขั้นสูง 3(2-2-5)
14124605 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงผสม 3(2-2-5)
14123114 จริยธรรมและกฎหมายสำหรับนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 3(3-0-6)
กลุ่มเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
14121105 ภาษามือไทยเบื้องต้น 3(2-2-5)
14123224 เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับผู้พิการ 3(2-2-5)
14123617 หลักการออกแบบกราฟิกและการใช้งานโปรแกรมกราฟิก 3(2-2-5)
14124606 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียทางการศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 3(2-2-5)
14124607 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 3(2-2-5)
2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต ดังนี้
14123803 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ 1(90)
14123806 การเตรียมสหกิจศึกษา 1(90)
14124804 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ 3(450)
หรือ
14124805 สหกิจศึกษา 6(640)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ให้เลือกรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่ เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของหลักสูตร